ประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาท้องถิ่น

กลยุทธ์

1. ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยผ่านกิจกรรมการสืบสานประเพณีไทยโดยร่วมมือกับชุมชน และเครือข่ายวัฒนธรรมภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อสืบสานประเพณีไทยโดยร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายวัฒนธรรมภายนอกมหาวิทยาลัย

ประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบบริหารจัดการ

กลยุทธ์

2. การพัฒนาระบบกลไกการบริหารงานบุคลากรแบบมุ่งเน้นผลงานและสมรรถนะ สร้างแรงจูงใจในการทำงาน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงาน

3. พัฒนาระบบค่าตอบแทนและสวัสดิการให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ (ประเมินตามกลุ่มงาน เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการศึกษา เป็นต้น)

4. ใช้ระบบการประเมินผลงานโดยเน้นความเป็นวัตถุวิสัยและการทำงานเป็นทีม (Objective and Teamwork Assessment) ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะเป็นระบบที่มีความเที่ยงตรงสูง

5. การพัฒนาอาจารย์ผู้สอนให้มีคุณภาพและศักยภาพ เป็นมืออาชีพ ด้วยมาตรการ ดังนี้

             – พัฒนาระบบกลไกและดำเนินการสนับสนุนการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกและการทำผลงานวิชาการเพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ

             – ส่งเสริมการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกเพื่อเพิ่มคุณวุฒิให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษา

             – การบ่มเพาะการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น

6. การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้นและมีความก้าวหน้าในอาชีพ ด้วยมาตรการ ดังนี้

             – พัฒนาระบบกลไกและดำเนินการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการให้มีความชำนาญในงานที่ปฏิบัติและมีความก้าวหน้าในอาชีพ

             – ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการให้มีประสิทธิภาพ มีความชำนาญในงานที่ปฏิบัติ และเข้าสู่ระดับชำนาญการมากขึ้น

              การพัฒนาผู้บริหารองค์กรทุกระดับ (ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง) เพื่อให้สามารถนำองค์กรสู่องค์กรชั้นนำของภูมิภาคและประเทศ

7. พัฒนาบำรุงรักษางานด้านสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

8. กำหนดแนวปฏิบัติในการดูแลบำรุงรักษาอาคารและภูมิทัศน์

9. นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารอาคารสถานที่ สาธารณูปโภคและโสตทัศนูปกรณ์

10. พัฒนาห้องเรียนและห้องปฏิบัติการโดยมีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกให้เป็น Smart classroom เพื่อสนับสนุนการผลิตบัณฑิตและการบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น

11. พัฒนามหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Smart Green University) ตามองค์ประกอบ
6 ประการ (โครงสร้างพื้นฐาน อนุรักษ์พลังงาน การจัดการของเสียและขยะ การจัดการน้ำ การจัดการจราจร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม)

12. เร่งรัดการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ

13. การประชาสัมพันธ์ข่าวสารเชิงรุก บูรณาการกับการทำงาน เสริมสร้างทักษะและสร้างจิตสำนึก เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

14. ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้สามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารบุคลากร การบริหารการเงินและงบประมาณ การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การนำเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมทางกฎหมายมาใช้ เพื่อให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเกิดความคล่องตัว โปร่งใส และตรวจสอบได้สอดคล้องกับการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย รวมทั้งการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในข้อกฎหมาย

15. สร้างความรู้ความเข้าใจกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ผ่านกระบวนการจัดอบรม สัมมนา

16. สร้างความตระหนักให้บุคลากรมีการดำเนินงานให้อยู่ภายใต้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด

17. กำกับและติดตามให้บุคลากรปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศ ด้วยความโปร่งใส

Scroll to Top